โปรแกรมตรวจประเมินการกลืน


 

การตรวจการกลืนโดยภาพถ่ายรังสี :  video fiuoroscopy swallowing (VFSS)

            การใช้เครื่องมือตรวจพิเศษที่สำคัญ ได้แก่ VFSS ( video fiuoroscopy swallowing ) ซึ่งเป็นการตรวจทางรังสีที่ใช้ดูการทำงานของระบบทางเดินอาหารช่วงศีรษะ และคอ โดยทำในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือยืน และการใช้กล้องเพื่อดูการกลืน (fiberoptic endoscopic evaluation of swallowing-FEES) ซึ่งช่วยประเมินการกลืนในระยะคอหอย และการตรวจไฟฟ้าที่ผนังกล้ามเนื้อการกลืน (swallowing surface electromyography-SSEMG) เป็นการวัดและบันทึกไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการทำงานของกล้ามเนื้อโดยอาศัยอิเล็กโตรดเป็นตัวจับสัญญาณไฟฟ้า ปัจจุบันการประเมินการกลืน จึงอาศัยลักษณะทางคลินิกและการตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ โดยเฉพาะการตรวจโดยวิธี VFSS เป็นวิธีการประเมินมาตรฐาน เนื่องจากสามารถบอกลักษณะและตำแหน่งของปัญหาได้ แต่เนื่องจากการตรวจ VFSS ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายแพง ดังนั้นการตรวจประเมินทางคลินิกยังคงมีความสำคัญอยู่ (วิฑูร,2548)

 

ใครควรตรวจการกลืน

  1. คนไข้หลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์-อัมพาต (Stroke)
  2. เนื้องอกที่ก้านสมอง(brainstem tumor)
  3. ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic Brain Injury)
  4. ผู้ป่วยพากินสัน (Parkinsonism)
  5. ผู้สูงอายุ (Elderly)
  6. ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (Alzheimer)
  7. โรคกล้ามเนื้อ(myasthenia gravis)
  8. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเอากล่องเสียงออก การใส่ท่อช่วยหายใจนานๆ
  9. มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร

 

ทำไมต้องตรวจการกลืน

  1. เพื่อประเมินโครงสร้างของช่องปาก คอหอยและกล่องเสียง (oro-pharyngo-larynx)
  2. เพื่อประเมินภาวะกลืนลำบาก
  3. เพื่อประเมินการสำลัก รวมถึงการสำลักเงียบ (silent aspiration)
  4. เพื่อวางแผนการถอดสายยางให้อาหาร
  5. เพื่อวางแผนการรักษาตามสรีรวิทยาการกลืน ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
  6. เพื่อประเมินการรับรู้และตอบสนองต่อผู้ป่วย (biofeedback)
  7. เพื่อติดตามประเมินการกลืน

 

 

 

วิธีการตรวจ

            ผู้ป่วยรับการตรวจโดยการกลืนแป้งซึ่งเป็นสารทึบรังสี เช่น แบเรียมซัลเฟต (Barium Sulfate)  ร่วมกับการเอกซเรย์ (X-Ray) เพื่อดูความผิดปกติของการกลืนในระยะช่องปาก  ระยะคอหอย และระยะหลอดอาหาร   การตรวจจะทำโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แก่  แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด นักรังสีเทคนิค โดยป้อนอาหารและน้ำดื่มผสมแบเรียม ซึ่งลักษณะเนื้ออาหารจะแตกต่างกัน เพื่อประเมินการกลืน  ความผิดปกติทางสรีรวิทยา  รวมไปถึงการหาแนวทางการรักษาฟื้นฟูที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย 

 

ข้อดีของการตรวจการกลืนโดยภาพถ่ายรังสี

 

ข้อจำกัดของการตรวจนี้