เบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างอินซูลิน หรือการทำงานของอินซูลิน ซึ่งหากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาอีกมากมาย

เบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างอินซูลิน หรือการทำงานของอินซูลิน ซึ่งหากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาอีกมากมาย


เบาหวานมี 4 ชนิด ดังนี้
1.เบาหวานชนิดที่ 1 ต้องพึ่งพาอินซูลิน(IDDM) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
2.เบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน(NIDDM) เบาหวานชนิดนี้ตับอ่อนยังพอผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่มีภาวะตื้อต่ออินซูลิน ในระยะแรกอาจรักษาได้ด้วยการคุมอาหาร หรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล แต่หากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอาจจำต้องฉีดอินซูลิน
3.โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์(GDM)โดยปัจจัยการส่งเสริมให้เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ต่อต้านการทำงานของอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำใหห้เลือดน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
4.เบาหวานชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ความผิดปกติของสารพันธุกรรม monogenic diabetes syndrome หรือ Maturity onset diabetes of the young[MODY], จากยา , โรคของทางตับอ่อน เช่น cystic fibrosis


อาการแสดงของโรคเบาหวาน

  • ปัสสาวะบ่อย ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
  • หิวบ่อยรับประทานมาก แต่นำหนักลด
  • หิวน้ำบ่อย
  • ผิวแห้ง
  • แผลลหายช้า
  • ตาพร่ามัว
  • ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน
1.โรคอ้วน ชอบรับประทานอาหารหวาน ทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน
2.ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนลดลง
3.โรคของตับอ่อน ทำให้มีการหลั่งอินซูลินลดลง
4.การติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งมีผลต่อตับอ่อนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง
5.ได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิดทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินซูลินลงลด
6.การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลิน

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
1.ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย จอตาเสื่อม ทำให้ตามัวลงเรื่อยๆ และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
2.เท้า ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า เกิดแผลได้ง่ายและ อาจก่อให้เกิดความพิการ
3.ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง, โปรตีน(ไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ)
4.ติดเชื้อ เป็รการติดเชื่อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ
5.ภาวะคีโตซีส(ketosis) ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำมาก หายใจหอบลึก มีไข้ กระวนกระวาย
6.ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง อัมพาต หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
7.เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

  • รับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
  • หลีกเลี้ยงอาหารที่รับประทานแล้วมีระดับน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน อาหารหรือผลไม้ที่หวานจัด เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง เพื่อทราบระดับน้ำตาลในเลือด
  • ดูแลทำความสะอาดเท้า ระมัดระวังอย่าให้เกิดเบิดแผล และหมั่นตรวจเท้าเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเท้าเสมอ
  • รับประทานยาตามแพมย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
  • พบแพทย์ตามนัด
  • รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท ถั่งเช่า เป็นต้น

 

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3.ไม่สูบบุหรี่
4.หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.ไม่เครีนด หรือวิตกกังวลมากจนเกินไป
6.หมั่นไปตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และปัสสาวะเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง