การตรวจเอ็มอาร์เอ (MRA)

การตรวจเอ็มอาร์เอ (MRA)

เอ็มอาร์เอ (MRA : Magnetic Resonance Angiography) เป็นเทคนิคการตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) ผู้ป่วยจะไม่ต้องเจ็บหรือได้รับรังสีจากการตรวจ โรคของหลอดเลือดได้อย่างละเอียด แม่นยำและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

ข้อบ่งชี้การตรวจเอ็มอาร์เอ

  1. สงสัยการมีลิ่มเลือดที่หลอดเลือดหัวใจและต้นคอ

  2. สงสัยลิ่มเลือดหรือความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองได้

  3. สงสัยลิ่มเลือดที่อุดตันบริเวณต้นขา

  4. ตรวจเพื่อหาความผิดปกติของหลอดเลือดในไตและดูการไหลเวียนของเลือดบริเวณไตก่อนที่จะทำการปลูกถ่ายไต

  5. ตรวจเพื่อวางแผนการผ่าตัดของแพทย์ก่อนที่จะทำการสวนหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ขั้นตอนการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจเอ็มอาร์เอ

  1. ถอดเครื่องประดับ ฟันปลอมและอุปกรณ์ที่เป็นโลหะทุกชนิดออกให้หมดก่อนเข้ารับการตรวจ

  2. หากผู้ป่วยที่กลัวที่แคบ จะต้องแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อน อาจจำเป็นต้องได้รับยาระงับความรู้สึก เพื่อให้สามารถอยู่นิ่งขณะตรวจได้ โดยหากจำเป็นต้องได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนตรวจ ผู้ป่วยจะต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

  3. หากตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบเสมอ อาจจะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นในการตรวจอีกครั้ง เพราะต้องคำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นก่อนเสมอ

  4. ผู้ป่วยที่มีการฝังโลหะในร่างกาย เช่น คลิปติดเส้นเลือดโป่งพองในสมอง, ลิ้นหัวใจเทียมที่ทำจากโลหะ เป็นต้น ไม่สามารถเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอได้

  5. ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้

  6. ผู้ป่วยที่ใส่เหล็กดัดฟัน หากต้องตรวจบริเวณสมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟันออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888