โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยที่สุดและคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี

ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการเป็นเบาหวานก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย

โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยที่สุดและคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี

ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการเป็นเบาหวานก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ได้แก่ จอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

- เลือกทานอาหารประเภทข้าว-แป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ธัญพืชต่างๆ ควรรับประทานอย่างพอดี เพื่อชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เส้นเลือด

- เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดไขมันต่ำ ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว เนื้ออกไก่ เนื้อหมูสันใน ลูกชิ้นต่างๆ

- หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม เบคอน แฮม หมูยอ เป็นต้น

- รับประทานผักประเภทใบ ควรระวังผักที่มีลักษณะเป็นหัว เช่น ฟักทอง เผือก ข้าวโพด มันเทศ
มันฝรั่ง มันแกว แห้ว เพราะผักเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มข้าว-แป้ง

- หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น องุ่น ลำใย ลิ้นจี่ สัปปะรด ควบคุมปริมาณการรับประทานต่อครั้ง คือ ไม่เกิน 7-8 ชิ้นคำ (ฝรั่ง สาลี่ แก้วมังกร) 1 ผลกลาง (แอปเปิ้ลฟูจิ ส้มเขียวหวาน) หรือไม่เกิน 7-8 ผลเล็ก (องุ่น ลำใย) 2-3 ครั้งต่อวัน

- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่าปล่อยให้อ้วนลงพุง

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

- การออกกำลังกายช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 58 และทำให้ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงประมาณร้อยละ 0.8%

- ควรออกกำลังกายกันครั้งละ 10 นาที วันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์

3. ไม่สูบบุหรี่

4. หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. ไม่เครียด หรือวิตกกังวลมากจนเกินไป

6. หมั่นไปตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และปัสสาวะเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

- ป้องกันเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยน
การป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคเบาหวานจะมุ่งเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle Modification) หมายถึง การปรับวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ประกอบด้วยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

- โภชนบำบัดทางการแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง
ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (Pre – Diabetes) ภายใต้ข้อแนะนำคือ ควรมีน้ำหนักตัวและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถทำได้ทุกคน โดยเฉพาะการควบคุมปริมาณน้ำตาลคือเรื่องที่ไม่ควรละเลย ในแต่ละวันไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา
รวมทั้งการควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม askmebet เพราะไม่เพียงแต่จะป้องกันโรคเบาหวานเท่านั้น ยังสามารถป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อต่าง ๆ ได้ด้วย

#เบาหวานรู้ทันป้องกันได้
#คลินิกโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
#โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี