ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ หรือปอดบวม คือภาวะที่ปอดมีการอักเสบ โดยเกิดจากการติดเชื้อหรือมีสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอด ที่สำคัญ ได้แก่

  • เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยคือเชื้อนิวโมคอคคัส

  • เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส

  • เชื้อไมโคพลาสมา เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบแต่มักไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน

  • เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง

  • สารเคมี เช่น น้ำมันก๊าด

 

การติดโรค

  • ถูกผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดใส่

  • สำลักอาหารหรือสารเคมีเข้าปอด

  • การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น

 

อาการ

  • ไข้สูง

  • หนาวสั่น

  • หายใจหอบ

  • ไอแห้งในระยะแรก ต่อมาจะไอมีเสมหะมีเลือดปน

  • อาจมีอาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอแรง ๆ

  • ในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่ายหรือชัก

 

ภาวะแทรกซ้อน

  • ฝีในปอด (Lung abscess)

  • มีหนองในช่องหุ้มปอด

  • ปอดแฟบ (Atelectasis)

  • หลอดลมพอง

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน

  • โลหิตเป็นพิษ

  • ขาดออกซิเจน และภาวะขาดน้ำ ซึ่งมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุ

 

การรักษา

  1. ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้และยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด

  2. หากมีอาการหอบ หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จะต้องรีบดูแลประคับประคองอาการ และนำตัวสส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ป้องกันปอดอักเสบ

  1. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888