หลอดเลือดหัวใจตีบ

หลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองลงมาจากโรคมะเร็ง หากรู้ตัวว่าเป็นแล้วต้องมีการดูแลตนเองเป็นอย่างดี เพื่อยืดอายุของคนไข้ให้ยาวนานขึ้น ด้วยการปรับพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากกระทำได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถต่อเวลาชีวิตออกไปได้

 

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • เจ็บแน่นหน้าอก

  • เหนื่อยง่ายขณะออกแรง

  • หัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรัง

  • ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน

  • หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

  1. อายุที่มากขึ้นมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้น

  2. เพศชายเป็นได้มากกว่าเพศหญิง หากในวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงมีโอกาสเป็นเท่ากับเพศชาย

  3. ประวัติครอบครัว มีญาติสายตรงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

  • ปัจจัยที่ควบคุมได้

  1. สูบบุหรี่

  2. ไขมันในเลือดสูง

  3. ความดันโลหิตสูง

  4. ไม่ออกกำลังกาย

  5. น้ำหนักมากหรืออ้วน

  6. โรคเบาหวาน

  7. กินอาหารไม่มีประโยชน์

  8. ความเครียด

 

ผลกระทบหลอดเลือดหัวใจตีบ

       โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้หรือรู้ตัวช้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมตามเวลา เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีปัจจัยเสี่ยง ไขมันจะเริ่มเกาะที่ผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการปริแตกของหลอดเลือด เกล็ดเลือดหลุดเข้าไปอุดตันทางเดินของหลอดเลือด และเมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจเกินร้อยละ 50 คนไข้จะเริ่มมีอาการแสดง

 

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

       หากคนไข้พบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอก  หรืออาการอื่นที่กล่าวมาข้างต้น คนไข้จะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที และเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของหัวใจ หากสูงขึ้นแสดงว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ ร่วมกับซักประวัติคนไข้ สอบถามระยะเวลาที่เจ็บแน่นหน้าอก หากมากกว่า 20 นาที อาจเกี่ยวข้องกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง (ควบคุมอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม ลดน้ำหนักตัว)

  2. กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

  3. กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร

  4. กินอาหารแต่พออิ่ม หลังกินเสร็จพัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพราะหลังกินอาหารเลือดจะไปเลี้ยงที่ท้อง หากไม่พักจะทำให้เจ็บหน้าอก

  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลังการรักษาแพทย์จะให้คนไข้ฝึกเดิน จากนั้นควรเพิ่มระยะเวลาทีละน้อย

  6. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน ลดความเครียด

  7. ไม่สูบบุหรี่

 

การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  1. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว และอาหารเค็มจัด

  2. กินอาหารที่มีไขมันน้อย

  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ

  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

  5. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด

  6. ควบคุมน้ำหนัก

  7. ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

ที่มา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ