ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจผิดปกติที่โครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอ และไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลวจึงมีผลต่อเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย อาจส่งผลต่อผู้ป่วยอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

อาการหลักๆของภาวะหัวใจล้มเหลว

  1. เหนื่อย

  2. อ่อนเพลีย

  3. บวม

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องตรวจเลือด และตรวจการทำงานของหัวใจเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัย การรักษานอกจากจะมุ่งเน้นการชะลอการดำเนินโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

  2. ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉินต้องให้การรักษาทันที่ มักพบในผู้ป่วยที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรักษามุ่งเน้นการรักษาภาวะฉุกเฉินเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือด และการหายใจเป็นหลัก

 

ภาวะแทรกซ้อนของจากภาวะหัวใจล้มเหลว

 

การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว

 

ผู้ที่มีความปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว

  • โรคเบาหวาน

  • โรคความดันโลหิตสูง

  • ไขมันในเลือดสู

  • สูบบุหรี่

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางเรื้อรัง

 

การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

  1. การหาโรคที่เป็นทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และรักษาแก้ไขที่โรคต้นเหตุร่วมกับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

  2. รักษาด้วยยาเพื่อชะลอการดำเนินโรคและฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ

  3. ควบคุมปริมาณน้ำที่ดื่ม และอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม และการปรับยาขับปัสสาวะอย่างเหมาะสม

การป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน

  • ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  • หากมีโรคประจำตัว ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง

  • จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด

  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ

 

สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888