รู้จักหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคของความเสื่อมอย่างหนึ่ง ปกติแล้วหมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้าย “โช๊คอัพ” อยู่ระหว่าง กระดูกสันหลัง มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกที่เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลัง ในเวลาที่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเดินหรือกระโดด

\"\"

#รู้จักหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคของความเสื่อมอย่างหนึ่ง ปกติแล้วหมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้าย “โช๊คอัพ” อยู่ระหว่าง กระดูกสันหลัง มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกที่เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลัง ในเวลาที่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเดินหรือกระโดด
ตอนเราเด็ก ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ ภายในหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนสำคัญ พอนานวันเข้า ของทุกอย่างย่อมเสื่อม เปอร์เซ็นต์ของน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะลดลง เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ หมอนรองกระดูกสันหลังของวัยหนุ่มสาวจะเหมือนกับ “ยางลบดินสอ” ที่นิ่ม ในขณะที่หมอนรองกระดูกสันหลังของคนที่มีอายุมากขึ้นจะเหมือนกับ “ยางลบหมึก” ที่ค่อนข้างแข็ง ทำให้ความยืดหยุ่นน้อยลงและเตี้ยลงลักษณะคล้ายกับ “ยางแบน” เมื่อหมอนรองกระดูก ไปกดทับเส้นประสาทส่วนใด ก็จะมีอาการปวดแสดงออกมาตามแนวของเส้นประสาทนั้น

คนไข้ 2 กลุ่ม ที่พบบ่อยคือ

กลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเริ่มมีความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมอยู่แล้ว พอออกแรงหรือใช้แรงเบ่งมาก ๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกออกมากดทับเส้นประสาทได้ในทันที เรียกว่า โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทชนิดเฉียบพลัน

กลุ่มวัยหนุ่มสาวที่มี Activity มาก ๆ ชอบออกกำลังกายหนัก ๆ โลดโผน หรือเคยมีอุบัติเหตุ ย่อมมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่ายกว่า เปรียบเทียบง่าย ๆ ฝาแฝด 2 คน เหมือนกันทุกอย่าง คนหนึ่งเรียบร้อย อีกคนชอบทำกิจกรรม เล่นบันจี้จัมพ์ อเมริกันฟุตบอล ในบั้นปลายของชีวิต คนที่มี Activity มากจะมีความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังมากกว่า อย่างไรก็ดี คนที่เรียบร้อย หากใช้งานกระดูกสันหลังไม่ถูกต้อง เช่น เป็นพวกออฟฟิศซินโดรม หมอนรองกระดูกสันหลังก็เสื่อมได้เช่นกัน แต่ท้ายที่สุด หมอนรองกระดูกสันหลังของทุกคนต้องเสื่อมสภาพอยู่แล้ว แต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

#แนวทางการวินิจฉัยโรค

กรณีที่เกิดอาการปวดเป็นครั้งแรก ๆ ปวดในคนที่อายุน้อย ปวดโดยที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น จากการยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ มักจะเป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหลังที่ไม่ร้ายแรง แพทย์จะรักษาไปตามสภาพอาการ แต่หากกินยาแล้วไม่หาย ปวดเรื้อรัง ปวดลงขาชัดเจน สงสัยว่าคนไข้อาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท แพทย์จะส่งคนไข้เข้ารับการตรวจ MRI หรือ CT Scan เพื่อวินิจฉัยแนวทางในการรักษาโรคต่อไป

#ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
#โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี