โรคติดเชื้ออาร์เอสวี RSV

ในช่วงนี้ประเทศไทยเป็นฤดูฝนทำให้เด็ก ๆ มีภาวะเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก คอ หอย) และส่วนล่าง (หลอดลม ปอด) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ (influenza), พาราอินฟูเอนซ่า (parainfluenza), อะดีโนไวรัส (adenovirus) ,ไรห์โนไวรัส (rhinoviruses), และที่สำคัญ กำลังระบาดในขณะนี้คือ RSV (respiratory syncytial virus)

โรคติดเชื้ออาร์เอสวี RSV

 

แพทย์หญิง กิจจาวรรณ เฮงคราวิทย์

รองศาสตราจารย์(พิเศษ)นายแพทย์ ทวี โชติพิทยสุนนท์

 

ในช่วงนี้ประเทศไทยเป็นฤดูฝนทำให้เด็ก ๆ มีภาวะเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก คอ

หอย) และส่วนล่าง (หลอดลม ปอด) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ (influenza),

พาราอินฟูเอนซ่า (parainfluenza), อะดีโนไวรัส (adenovirus) ,ไรห์โนไวรัส (rhinoviruses), และที่สำคัญ

กำลังระบาดในขณะนี้คือ RSV (respiratory syncytial virus) สำหรับปีนี้พบการระบาดตั้งแต่ช่วงปลาย

มิถุนายน 2561 ส่งผลให้พบผู้ป่วยจำนวนมาก บทความนี้เป็นลักษณะถามตอบเพื่อการเข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

RSV คืออะไร ?

RSV คือไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ

RSV-A และ RSV-B เป็นไวรัสก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และ

มีการระบาดเกือบทุกปี

หลังรับเชื้อนานเท่าไรจึงมีอาการป่วย (ระยะฟักตัว) ?

พบว่าหลังรับเชื้อ RSV สามารถแสดงอาการได้เร็วที่สุดหลังติดเชื้อ 2 วัน ช้าที่สุดประมาณ 8

วัน โดยส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 4-6 วัน

 

อาการเป็นอย่างไร ?

ช่วงแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาเช่น ไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่

แข็งแรงดีอาการมักไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่สำหรับเด็กเล็ก (ต่ำกว่า 2 ปี) ที่ติดเชื้อครั้งแรกพบร้อยละ 20-

30 ที่มีอาการโรคลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง (หลอดลม เนื้อปอด) ทำให้เกิดหลอดลมใหญ่อักเสบ

หลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบตามมาได้ โดยมักแสดงอาการไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียง

หวีดหวิว หรือ เสียงครืดคราดในลำคอ โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 1-2 ปี เด็กที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เด็กที่

คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่น หูอักเสบ ไซนัสหรือปอด

อักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ซึ่งจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้

 

อาการแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร ?

อาการไม่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาในผู้ใหญ่หรือเด็กโต แต่ในเด็กเล็กเริ่มต้นเป็นไข้หวัดแล้ว

อาจมีเชื้อลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่างเป็นปอดอักเสบได้

การรักษาทำอย่างไร ?

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV มีแค่รักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลาย

เสมหะ ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมหรือน้ำเกลือผ่านทางออกซิเจน

ละอองฝอย เคาะปอดและดูดเสมหะออก ยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์หากไม่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

หากเป็นแค่อาการหวัดจากเชื้อ RSV ให้รักษาตามอาการที่บ้านได้ ไม่มีความจ าเป็นต้องนอนใน

โรงพยาบาล การนอนในโรงพยาบาลที่เกินความจ าเป็นนอกจากไม่มีประโยชน์แล้วยังอาจก่อผลเสีย เช่น

เกิดการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อนจากโรงพยาบาล และการแพร่เชื้อ RSV ให้ผู้อื่นในโรงพยาบาล

อาการอย่างไรต้องนอนโรงพยาบาล ?

เมื่อผู้ป่วยไข้สูง ไม่กิน ไม่เล่น หายใจเร็วกว่าปกติ หายใจมีเสียงหวีด หงุดหงิดง่าย หรือเซื่องซึม

ผู้ปกครองควรจะพามาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเราเป็น RSV ?

แพทย์สามารถตรวจจากน้ำมูก ซึ่งจะตรวจพบเชื้อ RSV เพียงร้อยละ 53-96 ของผู้ป่วยทีติดเชื้อ RSV

การตรวจทำได้ในบางโรงพยาบาลเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่มีความจำเป็นต้องตรวจทุกรายเพราะการตรวจพบ

หรือไม่พบเชื้อ RSV ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการรักษา แต่ช่วยในการแยกผู้ป่วยเพื่อลดการแพร่กระจายโรค

ติดต่อได้อย่างไร ?

ติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV เช่น น้ำมูก น้ำลายหรือสัมผัส

สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งเช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ของเล่น ฯลฯ เชื้อ RSV สามารถมีชีวิตอยู่ใน

สิ่งแวดล้อมได้นานหลายชั่วโมงและสามารถอยู่ที่มือของเราได้นานประมาณ 30 นาที ดังนั้นผู้ใหญ่ที่มีเด็กเล็ก

ป่วยในบ้านควรล้างมือบ่อย ๆ ก่อนสัมผัสเด็ก

เป็นแล้วเป็นอีกได้หรือไม่ ?

เป็นได้หลายครั้งเนื่องจากไวรัส RSV มี 2 สายพันธุ์และกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ

 

ผู้ใหญ่ติดได้หรือไม่ ?

ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อ RSV ได้แต่อาการมักไม่รุนแรงเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้ว

 

แพร่กระจายโรคได้นานไหม ?

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้นาน 3-8 วันหลังมีอาการป่วยแต่อาจนานถึง 3-4 สัปดาห์ในเด็กเล็กหรือ

เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หายป่วยไปโรงเรียนได้ไหมและเริ่มไปโรงเรียนได้เมื่อไหร่ ?

หากมีอาการป่วยควรให้หยุดเรียน หยุดไปเนอเซอร์รี่จนกว่าอาการจะหาย หรืออย่างน้อย 5-7 วัน

เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

การป้องกันทำได้อย่างไร ?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียาป้องกัน จึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้ ดังนี้

+ ทุกคนในบ้านหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือของตนเองและลูกน้อย เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ

RSV และเชื้ออื่น ๆ ที่ติดมากับมือทุกชนิด ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 70

+ การใช้แอลกอฮอลเจลถูมือช่วยป้องกันโรคได้บ้าง ยังแนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ ได้ประโยชน์กว่า

+ หลีกเลี่ยงเด็กทั้งสบายดีหรือป่วยไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด

+ ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นเด็กเป็นประจำ

+ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการ

ที่รุนแรงได้มากกว่า

+ ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำมาก ๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์

ตลอดเวลา

+ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองเมื่อบุตรหลานมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็ก

ปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ